ฟาสต์เบรค(Fast break) แผนการจู่โจมในกีฬาฟุตบอล

คลิกเพื่อแสดงความคิดเห็น

ฟาสต์เบรค(Fast break) แผนการจู่โจมในกีฬาฟุตบอล

หลายๆท่านคงคุ้นหู กับแผนการเล่นฟุตบอลที่เรียกว่า "ฟาสต์เบรค" หรือ fast break กันมาบ้างแล้ว ตัวผมเองก็เพิ่งเคยได้ยินมาไม่กี่ปี เพราะคำว่า ฟาสต์เบรค มักใช้ในกีฬาบาสเก็ตบอลเป็นส่วนใหญ่  ในกีฬาบาสเกตบอล fast break เป็นวิธีการเล่นประเภท ลักไก่ ฉกฉวยโอกาสในขณะที่ฝั่งตรงกันข้ามไม่ทันได้ตั้งรับ โดยทีมเราใช้เกมรุกอย่างรวดเร็ว ในการทำคะแนน ซึ่งหากเพื่อนๆ เคยเล่นบาสเกตบอล ก็คงเข้าใจความหมายของวิธีการเล่นแบบนี้ได้โดยง่าย

ฟาสต์เบรค(Fast break) ในกีฬาฟุตบอล

การเปลี่ยนจังหวะจังเกมรับ เปลี่ยนเป็นเกมรุกด้วยความรวดเร็ว และโต้กลับด้วยผู้เล่นเพียงไม่กี่คน คงเป็นนิยามของการเล่นในรูปแบบ ฟาสต์เบรค ที่เข้าใจกันง่ายที่สุด ผมได้ยินการเล่นแบบฟาสต์เบรค ก็เมื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ผ่านมา และมาได้ยินอีกครั้งในตอนที่ โค้ชชัยยงค์ ขำเปี่ยม ได้ออกมากล่าวว่า ฟาสต์เบรค ไม่จำเป็นต้องตั้งรับ กันอยู่เต็มหน้ากรอบเขตโทษ แต่จะเริ่ม ใช้กลยุทธ์ฟาสต์เบรค ก็ตอนที่ทีมตัดบอลได้ แล้วเข้าทำด้วยความรวดเร็ว โดยใช้ผู้เล่นน้อยคน .. ถ้าเป็นกีฬาบาสเกตบอลวิธีการเล่นคงเป็นรูปแบบ ที่เมื่อทีมแย่งบอลได้ แล้วรีบขว้างลูกบาส ไปยังผู้เล่นทีมเดียวกันที่ยืนอยู่ใกล้ๆห่วง และสามารถทำแต้มได้ทันที

จะใช้ฟาสต์เบรค เมื่อใด

การเปลี่ยนจากเกมรับเป็นเกมรุกด้วยความรวดเร็ว เรามักเคยได้ยินในรูปแบบของการ เคาท์เตอร์ แอตแท็ก (counter attack ) ข้อแตกต่างคือ การสนับสนุนเกมโต้กลับเร็วของ การเล่นแบบเคาท์เตอร์แอตแท็ก จะมีจำนวนผู้เล่นที่มากกว่า หรือ โต้กลับกันทั้งระบบด้วยความรวดเร็ว  ซึ่งนักฟุตบอลและโค้ชจะรู้ว่า การเปลี่ยนจากรับในแดนตนเอง แล้ววิ่งจู่โจมไปในแดนคู่ต่อสู้ มันใช้พละกำลังมากมาย  หากเคาท์เตอร์แล้ว โดนย้อนศร ด้วยการถูกตัดบอลจากฝ่ายตรงข้ามอีกครั้ง นั่นคือหายนะ

ฟาสต์เบรค เริ่มจากการที่ทีมตัดบอลได้ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใดของสนาม  จากนั้น ผู้เล่นในเกมรุก อาจเป็น 2-3 คน ที่มีความเหมาะสมในกลยุทธ์นี้ ควรมีจุดเด่นในเรื่องความเร็ว วิ่งไปตามทิศทางที่ซักซ้อมกันไว้ จากนั้น ผู้ที่ตัดบอลได้ได้จ่ายบอลไปยังผู้เล่นที่วิ่งพุ่งขึ้นไปด้วยความรวดเร็วในแดนคู่ต่อสู้ และให้ ผู้เล่นเพียง 2-3 คน สร้างสรรค์โอกาสจบสกอร์ ... แม้ว่าประสิทธิภาพในการรุกของฟาสต์เบรค จะไม่มากเท่ากับ เกมเคาท์เตอร์แอตแท็ก  เพราะจำนวนผู้เล่นที่เข้าทำน้อยกว่า... ถึงกระนั้น การที่เราทิ้งให้พวกเขา 2-3 คน หาโอกาสทำประตู แม้ไม่ได้ประตู ถูกตัดบอลหรือแย่งบอล  .. ทีมเราก็ยังเหลือผู้เล่นในทีมอีกมากมายที่ยัง ยืนขึงในแดนตนเอง พร้อมที่จะตั้งเกมรับได้อย่างเหนียวแน่น

สรุป ของการเล่นฟาสต์เบรคในกีฬาฟุตบอล

..ใช้โต้กลับทีมคู่แข่ง จากเกมรับ เป็นรุก ด้วยความรวดเร็ว

.. ใช้ผู้เล่นในการจู่โจมเพียงไม่กี่คน อาจเพียง 2-3 คน

.. ประสิทธิภาพอาจไม่เท่าการเล่นแบบเคาท์เตอร์แอทแท็ก เพราะน้อยกว่าเรื่องจำนวนผู้เข้าทำ

.. เกมรับยังคงรักษา ตำแหน่งการยืนไว้ได้ เพราะใช้ผู้เล่นในเกมรุกน้อย

.. ความเร็วของการจ่ายบอลเป็นหัวใจหลัก ใช้โดยคู่ต่อสู้ไม่ทันตั้งตัว

.. ความแม่นยำ ของการเล่นเพียงไม่กี่จังหวะ คือหัวใจที่จำนำไปสู่การได้ประตูในแผนการเล่นแบบนี้

 

 

 



แสดงความคิดเห็น



© 2021 ball2night.com, All rights reserved   View Stats