แนวทางการเล่นและฝึกซ้อมในตำแหน่งกองหลังของคุณฤทธิพร สารฤทธิคาม

คลิกเพื่อแสดงความคิดเห็น

แนวทางการเล่นและฝึกซ้อมในตำแหน่งกองหลังของคุณฤทธิพร สารฤทธิคาม

ในบันทึกการสอนฟุตบอลของผม ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลนักฟุตบอลแต่ละคน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเล่นฟุตบอล พร้อมแนวทางการแก้ไขที่ผมได้พยายามออกแบบให้ตรงกับข้อมูลที่ให้มากที่สุด โดยใช้่ความรู้และประสบการณ์ ประกอบกับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ไม่ได้นั่งเทียนเขียนบทความแต่อย่างใด

( ไม่ใช่ หมอลักษณ์ฟันธง หรือ คอนเฟิร์มนะครับ...ฮ่าๆๆ )

 

ในหัวข้อนี้ เป็นประวัติการเล่นฟุตบอลของคุณ ฤทธิพร สารฤทธิคาม แฟนเพจของเพจสอนฟุตบอล by คนรักบอล

ตำแหน่งที่เล่น กองหลังตัวกลาง ( เซนเตอร์ฮาร์ฟ )

อายุ 22 ปี สูง 185 เซนติเมตร หนัก 85 กิโลกรัม

จุดด้อยเชื่องช้า และเข้าบอลไม่ค่อยเด็ดขาด

ปัญหาความเชื่องช้าสำหรับกองหลังที่มีรูปร่างสูงใหญ่เป็นเรื่องธรรมดา แต่จุดดีก็คือมีความได้เปรียบในเรื่องรูปร่าง ความแข็งแกร่ง แรงเบียดแรงกระแทก และจุดเด่นในเรื่องลูกกลางอากาศ สิ่งที่ต้องทำคือ สร้างความได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถของจุดที่ยังด้อย

หากเทียบกับนักเตะระดับโลก คุณฤทธิพร มีความสูงใกล้เคียงกับคริสเตียโน่ โรนัลโด้ เจ้าของความสูง 186 เซนติเมตร หนัก 84 กิโลกรัม  และคาดว่ารูปร่างคงใกล้เคียงกัน แต่อาจแตกต่างกันในเรื่องของมวลกล้ามเนื้อ 

ในสมัย 17-18ปี โรนัลโด้ มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 70 ต้นๆ แต่ด้วยหลักการสร้างความเร็วความคล่องตัวโดยหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงจำเป็นต้องเล่นเวทเทรนนิ่ง เสริมกล้ามเนื้อส่วนที่สำคัญเกี่ยวกับการเล่นฟุตบอล เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อต้นขา ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับนักวิ่งระยะสั้นผิวดำ ที่มีความเร็วไม่เกิน 10 วินาที ในระยะ 100 เมตร

คำถามของผมคือ น้ำหนัก 85 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักของมวลกล้ามเนื้อ หรือ น้ำหนักของไขมันสะสมที่มีอยู่มากเกินไป

หากเป็นไขมัน คุณฤทธิพร ก็ควรปรับเปลี่ยนให้เป็นการเพิ่มกล้ามเนื้อในส่วนที่สำคัญแทน โดยอาจควบคุมอาหาร พร้อมกับการเล่นเวทเทรนนิ่ง  เพราะส่วนสูง 185 เซนติเมตร น้ำหนัก 85 กิโลกรัม เป็นสเป็คเซนเตอร์ฮาร์ฟ ของเมืองไทยเลย ..

ในส่วนการเพิ่มความเร็ว ความคล่องตัว ผมขอแนะนำดังนี้ครับ เนื่องจากผมเองก็เคยเป็นผู้เล่นในตำแหน่งกองหลังตัวกลาง และรูปร่างใหญ่ ถึก บึกบึน เหมือนกัน เพียงแต่ว่าสูงแค่ 176 เซนติเมตรเท่านั้น

โปรแกรมการฝึกซ้อมที่ควรฝึกทุกวัน

.. วิ่งจ๊อกกิ้งเรียกเหงื่อตามปกติ ระยะเวลา ประมาณ 20 นาที หรือ 5 รอบสนามฟุตบอล

.. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยใช้เวลาที่นานเพิ่มขึ้น เน้นช่วงเอวลงมา ยืดช่วงหว่างขา ข้อต่อระหว่างเข่า ข้อเท้า ให้มากๆ

เพราะการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อย่างมีวินัย เป็นปัจจัยที่ทำให้กล้ามเนื้อเราแข็งแกร่งขึ้น ช่วงก้าวที่ยาวขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

... ต่อจากการยืดกล้ามเนื้อให้ วิ่งสเต็ปดังนี้

...  วิ่งก้าวยาวแบบสบายๆ ด้วยความเร็ว 70-80 เปอร์เซ็นต์ ในระยะ 50 เมตร (สวมรองเท้าผ้าใบ ) ถึงที่หมายวิ่งจ๊อกกิ้งกลับ 3 รอบ

... วิ่งยกเข่าต่ำ ด้วยความเร็ว เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมือและเท้า พอถึงระยะ 25 เมตร ให้วิ่งสปีดแบบรีแลกซ์ ด้วยความเร็ว 80 เปอร์เซ็นจนถึงระยะ 50 เมตร แล้ววิ่งจ๊อกกิ้งกลับ 3 รอบ

... วิ่งยกเ่ข่าสูง ให้แนวเข่าถึงระดับสะดือของเรา เน้นความสัมพันธ์ระหว่างมือและเท้า ลำตัว ศีรษะเหยียดตรง โน้มต้ัวไปข้างหน้า 15 องศา ถึงระยะ 25 เมตร ให้อัดสปีดเช่นการวิ่งเข่าต่ำ แล้วจ๊อกกิ้งกลับ 3 รอบ

... วิ่งสเต็ป ยกเท้า โดยให้แนวขาเหยียดตรงไปข้างหน้า ให้ขาขนานกับพื้น สลับซ้าย-ขวา ถึงระยะ 25 เมตร อัดสปีด 2 รอบ

... วิ่งสเต็ป ยกเท้า ให้สูงเกือบเสมอศีรษะ ฯ 

... วิ่งสไลด์ข้าง...

... วิ่งกระโดดแทงเข่า...สลับซ้ายขวา

... วิ่งดีดส้น...

... วิ่งยกเข่านอกเข้าใน.. ฯลฯ

... สุดท้าย จบด้วยการวิ่งสปีด เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ 2 รอบ ในช่วงท้ายๆ เราจะรู้สึกได้เลยว่าการทำงานของกล้ามเนื้อขา และร่างกายทำได้ดีมากขึ้น วิ่งได้เร็วขึ้น สบายขึ้น

ทำอย่างนี้ทุกวันครับ...

หรือถ้ามีอุปกรณ์ ก็ใช้แบบฝึกซ้อมดังคลิปข้างล่าง ที่ประกอบด้วยการวิ่งเข่าต่ำ เข่าสูง วิ่งดับเบิ้ลสเต็ป ซิกแซก ฯลฯ ช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้คนน้ำหนักตัวเยอะๆ ได้อย่างแน่นอน

คลิปเพิ่มความเร็วความคล่องตัวในกีฬาฟุตบอล

 

คลิปนี้ใช้เวลาดูนานหน่อยแต่ถ้าเอาไปใช้ได้ประโยชน์อย่างมหัศจรรย์

 

เพียงเท่านี้ถ้าทำได้อย่างมีวินัย และทุกวัน ความเร็วไม่มากขึ้น ผมขอเอาหน้า เป็นที่รองรับบาทาได้เลยครับ

ปัญหาต่อมาคือ " เข้าบอลได้ไม่ขาด เคลียร์บอลไม่ขาด เข้าสกัดไม่แม่นบอล ไม่มีความเด็ดขาด เราจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร "

ความไม่แม่นบอลสำหรับตัวผมเอง คิดว่าเกิดจากสิ่งดังต่อไปนี้

..  การกะจังหวะบอล เช่น ลูกบอลที่กำลังลอยมาแล้วกำลังจะตกสู่พื้น

..  ไม่ถนัดในการเล่นฟุตบอลด้วย  ศีรษะ เท้าซ้าย หรือเท้าขวา

.. ไม่สามารถชิงจังหวะในการเล่นบอล ยืนในตำแหน่งที่เีสียเปรียบ

.. การตัดสินใจที่ช้า หรือผิดพลาด

แนวทางการแก้ไขการเคลียร์บอลไม่ขาด

.. ตื่นตัวอยู่เสมอ มีสมาธิในการเล่น 

.. ฝึกการคาดเดาวิธีการเล่นของคู่แข่ง

.. ตัดสินใจให้เด็ดขาด  หากตัดสินใจเข้าบอลต้องเข้า อย่าลังเลหรือกลัวเสียฟาวล์ หากไม่เข้าบอลก็ต้องยืนรักษาตำแหน่งให้ดี

.. พัฒนาการเข้าบอลด้วยการฝึกซ้อมตามคลิปด้านล่างครับ

 

 แบบฝึกการตัดบอลสำหรับกองหลัง

 



แสดงความคิดเห็น



© 2021 ball2night.com, All rights reserved   View Stats