เจ็บส้นเท้าหรือเป็นรองช้ำ รักษาอย่างไร(ฟุตบอล)

คลิกเพื่อแสดงความคิดเห็น

เจ็บส้นเท้าหรือเป็นรองช้ำ รักษาอย่างไร(ฟุตบอล)

ช่วงนี้บทความเกี่ยวกับเรื่องของ อาการบาดเจ็บนักฟุตบอล อาจมีมากหน่อยสำหรับ www.ball2night.com เพราะกระผม Mr.knock ก็ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาฟุตบอลเหมือนกัน น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ผมสามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึก ของการเป็นนักฟุตบอลที่ไดัรับบาดเจ็บได้ดีที่สุด โดยในบทความนี้ก็เป็นเรื่องราวของ การบาดเจ็บบริเวณส้นเท้า หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า " รองช้ำ "    ในภาษาอังกฤษ foot ( ฟุต ) แปลว่าเท้า  แต่ถ้าส้นเท้า ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า Heel ครับ...  การเจ็บบริเวณส้นเท้าหรือรองช้ำ ก็เป็นอีกอาการบาดเจ็บหนึ่ง ของนักฟุตบอลที่เกิดขึ้นได้บ่อย

สาเหตุของอาการบาดเจ็บที่ส้นเท้าหรือรองช้ำ ในการเล่นกีฬาฟุตบอล

1. น้ำหนักตัวของนักฟุตบอล

2. สภาพสนามฟุตบอลที่แข็ง

3. เส้นเอ็นบริเวณส้นเท้า หรือผังผืดบริเวณฝ่าเท้าอักเสบ

คนถนัดเท้าขวา มักมีอาการรองช้ำบริเวณส้นเท้าข้างซ้าย

อาการของการบาดเจ็บส้นเท้า

1. ลงน้ำหนักไม่ได้จะมีอาการปวดจี๊ดๆ แปล๊บๆ

2. ในช่วงแรกจะรู้สึกเจ็บมาก แต่พอเราเดินหรือทำกิจกรรมซักระยะอาการบาดเจ็บจะค่อยๆทุเลาลง จะเจ็บปวดมากในช่วงตื่นนอน

3. ในนักฟุตบอลที่ถนัดเท้าขวา อาการเจ็บส้นเท้ามักเกิดขึ้นที่เท้าซ้าย ในขณะเตะลูกฟุตบอลเท้ายืนจะรับน้ำหนักมากกว่าปกติหลายเท่า

4. มักมีอาการช้ำจากการฉีกขาดของผังผืดหรือเส้นเอ็นร่วมด้วย จึงมักนิยมเรียกอีกว่า "รองช้ำ"

... เมื่อก่อน ผมเป็นคนที่เล่นกีฬาฟุตบอลทุกวัน การวิ่งด้วยความเร็ว การวางบอลไกลๆ การทำประตู บนพื้นสนามหญ้าที่ไม่ค่อยจะมีหญ้า มีแต่ดินแข็งๆ ทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณส้นเท้าได้ง่ายมาก  ผมเป็นคนถนัดเท้าซ้าย เวลาเปิดบอลหรือยิงประตู มักใช้เท้าข้างซ้ายเป็นหลัก แต่ทว่า อาการเจ็บส้นเท้ามาเกิดที่ส้นเท้าข้างขวา  จากการสังเกตก็คือขณะโยนบอล หรือยิงประตูแรงๆ  ส้นเท้าข้างขวาซึ่งเป็นเท้ายืน จะรับน้ำหนักมากกว่าปกติ...  ก็ไม่ได้สนใจอะไร

ในเช้าวันถัดมา ผมเจ็บบริเวณส้นเท้ามาก หลังจากลุกออกจากที่นอน ต้องค่อยๆเดินกระโผลกกระเผลก เป็นเวลานับ 10 นาที ก่อนที่อาการเจ็บปวดจะทุเลาลง และทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นปกติ แต่ก็มีอาการเสียวแปล๊บๆ บริเวณส้นเท้าข้างขวาตลอดเวลา.... นี่คืออาการเริ่มแรกของการบาดเจ็บส้นเท้า หรือรองช้ำของผม  

รูปภาพแสดงถึงเปอร์เซ็นต์ ในการบาดเจ็บที่บริเวณเท้า ส้นเท้าจะมีโอกาสได้รับบาดเจ็บมากที่สุดถึง 

จริงอยู่หากมีอาการบาดเจ็บเราต้องหยุดพัก  แต่การบาดเจ็บบริเวณส้นเท้าของเราแทบจะไม่มีโอกาสหยุดพักได้เลย เว้นแต่เวลานอน เพราะว่ากิจกรรมต่างๆ การเดินไปมาทั้งวัน ส่วนที่รับน้ำหนักมากที่สุดก็คือเท้าและส้นเท้าของเรา..  อาการบาดเจ็บที่ส้นเท้าหรือรองช้ำ จึงหายค่อนข้างยาก  

การแก้ปัญหาปวดส้นเท้าหรือรองช้ำ

ทำยังไงอ่ะ เจ็บแต่ก็พอเล่นได้ แต่ถึงยังไงเล่นฟุตบอลไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม  ด้วยความที่ผมเป็นคนตัวใหญ่น้ำหนักตัวเยอะ ที่เป็นปัจจัยความเสี่ยงในการบาดเจ็บบริเวณนี้อยู่แล้ว  จึงเริ่มปรับเปลี่ยนและรักษาตนเอง ...  โดยปกติผมชอบใช้รองเท้าสตั๊ดที่เป็นหนังแท้สีดำ และปลุ่มกลมมากๆ เพราะมันคลาสสิคดี  แต่ในยามที่เดินอยู่บนสนามแข็งๆ รองเท้าสตั๊ดปุ่มกลมก็ยังถือว่าปุ่มสูงเกินไป ปุ่มของมันก็กดไปยังส้นเท้ามากขึ้นอีก... จึงตัดสินใจไปเลือกซื้อรองเท้าใหม่ โดยปรึกษากับเจ้าของร้านที่พี่เขาเป็นนักฟุตบอลมาก่อน  ผมจึงได้รองเท้ายี่ห้อมิสซูโน่ ปุ่มโดนัทมา 1 คู่ ราคากลางๆ ไม่แพงมาก...

ปุ่มรองเท้าที่ผมใช้ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ส้นเท้า

ลักษณะของปุ่มโดนัท

ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆ จากเว็ป www.thfootballbootsreview.com ครับ

การบาดเจ็บที่ส้นเท้า ในกีฬาฟุตบอลหรือคนปกติ มักเกิดจากการทำกิจกรรมที่ทำให้เท้าเราทำงานมากเกินไป ... ขั้นตอนง่ายๆ เมื่อกลับไปถึงบ้าน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการปวดส้นเท้า ได้แก่ การนำขาทั้งสองข้างพาดไปที่เก้าอี้หรือโซฟา โดยเรานอนราบลงกับพื้น จะทำให้เท้าเราได้พักและผ่อนคลายมากขึ้น เลือดลมที่คั่งอยู่บริเวณส้นเท้าไหลเวียนดีขึ้น  หลังเล่นกีฬาเสร็จก็ควรมีการวอร์มดาวน์ หรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อภายหลังการเล่น หากมีอุบัติเหตุทีทำให้เราเจ็บส้นเท้าเราทันที การใช้น้ำแข็งประคบ หรือ นำถังใส่น้ำแข็งผสมน้ำ แล้วใช้เท้าแช่ลงไป จะช่วยให้ลดระดับความเจ็บปวดลงได้..

เมื่อเราเจ็บเราก็ต้องพัก ถ้าหากเพื่อนๆอยากออกกำลังกายก็หากิจกรรมที่ลดการใช้เท้าหรือการลงน้ำหนักที่เท้าให้น้อยลง เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การเดินเบาๆ ... จากที่เราชอบใส่แต่รองเท้าแตะเดินไปไหนมาไหน ให้เปลี่ยนเป็นรองเท้าผ้าใบที่ซับพอร์ตส้นเท้า ลดแรงกระแทกได้ดี..

หากอาการบาดเจ็บรุนแรง ไม่ทุเลาหรือบาดเจ็บยาวนานเกินกว่าปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางเรื่อง เท้า.. เพราะในบางครั้งการบาดเจ็บนานๆ อาจทำให้เกิดภาวะหินปูนเกาะที่บริเวณส้นเท้า หรือเป็นโรคกระดูกงอกบริเวณที่เจ็บปวดหรือใกล้เคียง อาจถึงต้องขึ้นเขียงผ่าตัดกันได้เลยครับ

ดูแลและป้องกันการบาดเจ็บที่ส้นเท้าหรือรองช้ำ(ผังผืดส้นเท้าอักเสบ)



แสดงความคิดเห็น



© 2021 ball2night.com, All rights reserved   View Stats